วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความปลอดภัยใน Internet Explorer 8

Internet Explorer 8 "ปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อออนไลน์"
เมื่อเว็บไซต์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น วิธีที่แฮกเกอร์และเว็บไซต์ประสงค์ร้ายต่างๆ พยามยามจะส่งไวรัส
เมื่อเว็บไซต์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น วิธีที่แฮกเกอร์และเว็บไซต์ประสงค์ร้ายต่างๆ พยามยามจะส่ง
ไวรัส สร้างความเสียหายใ้ห้กับคอมพิวเตอร์ ดึงข้อมูลส่วนตัว และตรวจสอบพฤติกรรมการออนไลน์
ของคุณก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

รู้หรือไม่ว่า
มัลแวร์ คือซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความเสียหายใ้ห้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ
เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์อาจถูกดาวน์โหลดโดยที่คุณรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ได้อนุญาต

ฟิชชิ่ง คือช่องทางสำหรับอาชญากรในการดึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ (เช่น หมายเลขบัตรเครดิต)
โดยแสร้งว่าเป็นองค์กรที่ถูกกฏหมาย เช่น ธนาคารของคุณ Internet Explorer จะช่วยป้องกัน
การจู่โจมเหล่านี้ และอื่นๆ อีกมากมาย การให้บริการเบราว์เซอร์ที่ไว้วา่งใจได้นั้น หมายถึงเบราว์เซอร์
ที่มีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ เป็นเบราว์เซอร์ที่เคารพการตัดสินใจของผู้ใช้งาน และช่วยให้
ผู้ใช้งานควบคุมคอมพิวเตอร์และข้อมูลของตนเองได้

ตัวกรอง SmartScreen
ตัวกรอง SmartScreen ใหม่ของ Internet Explorer 8 ช่วยปกป้องคุณจากการติดตั้งมัลแวร์โดยไม่เจตนา
 หรือซอฟต์แวร์ที่มีเจตนาร้ายซึ่งเป็นอันตรายต่อข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และข้อมูลเฉพาะตัวของคุณ
 และสามารถทำลายคอมพิวเตอร์และข้อมูลอันมีค่าของคุณ เราขอแนะนำให้คุณเปิดใช้งาน SmartScreen ซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการทำงานได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ คุณยังสามารถ
ช่วยพัฒนาเว็บไซต์สำหรับทุกคนได้โดยแจ้งเว็บไซต์ที่สงสัยว่ามีเจตนาร้ายด้วยตัวกรองนี้
หากตัวกรอง SmartScreen ทำงานอยู่และุคุณพยายามเรียกดูเว็บไซต์ที่พิจารณาแล้วว่าไม่ปลอดภัย
หน้าจอด้านล่างนี้จะพร้อมท์ถามให้คุณเลือกดำเนินการอื่นๆ



เมื่อเปิดการทำงาน ตัวกรอง SmartScreen จะแจ้งเตือนเมื่อคุณพยายามดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
ที่อาจเป็นอันตราย

ตัวกรอง Cross Site Scripting (XSS)
Internet Explorer 8 ขอแนะนำคุณสมบัติในการตรวจพบรหัสที่เป็นอันตรายบนเว็บไซต์ที่ละเมิด
ความปลอดภัย เพื่อช่วยปกป้องคุณจากการถูกหาผลประโยชน์ที่นำไปสู่การเิปิดเผยข้อมูล
การขโมยคุกกี้ การโจรกรรมบัญชีผู้ใช้/ข้อมูลประจำตัว และอื่นๆ การจู่โจมเหล่านี้เป็นการคุกคาม
ทางออนไลน์ประเภทหลัก เราจึงได้รวม Cross Site Scripting ซึ่งเป็นตัวกรองชนิดใหม่
เพื่อให้คุณออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น

การเน้นโดเมน
การเน้นโดเมนทำใ้ห้คุณตีความที่อยู่เว็บต่างๆ (URLs) ได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ประสงค์ร้าย
และฟิชชิ่งเว็บไซต์ที่พยายามลวงคุณด้วยที่อยู่เว็บซึ่งชวนให้เข้าใจผิด ุคุูณลักษณะนี้จะเน้นสีดำ
ที่ชื่อโดเมนที่ปรากฏในแถบที่อยู่ และส่วนอื่นๆของ URL จะแสดงด้วยสีเทา เพื่อให้ระบุ
คุณลักษณะเฉพาะของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ง่ายขึ้น



Data Execution Prevention (DEP) (การป้องกันการดำเนินการข้อมูล)
การป้องกันการดำเนินการข้อมูล (DEP) ที่เปิดการทำงานตามค่าเริ่มต้นของ Internet Explorer 8
ใน Windows Vista Service Pack 1 นั้นเป็นคุณลักษณะเพื่อความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์
ของคุณจากความเสียหายที่เกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์และการคุกคามความปลอดภัยต่างๆ
โดยป้องกันไม่ให้มีการเขียนรหัสบางประเภทลงในพื้นที่หน่วยความจำที่ปฏิบัติการได้


ที่มา http://technology.impaqmsn.com

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ล้างค่า Registry ให้คอมฯทำงานไวขึ้น

little registry cleaner เป็นโปรแกรมแบบ portable ที่มี tool ในการใช้งานง่าย ๆ เพื่อกำจัดขยะไฟล์ต่าง ๆ
 และทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โปรแกรมจะทำการ scan เครื่องคอมพิวเตอร์
ของคุณเหมือนโปรแกรม scan virus แต่ต่างกันที่โปรแกรมตัวนี้จะตรวจหาไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้อง
ใช้งานแทนนั่นเอง โปรแกรมตัวนี้ง่ายต่อการใช้งาน และมีหน้าตาโปรแกรมที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้
ไม่ยาก ที่สำคัญโปรแกรมตัวนี้ยังฟรีอีกด้วย คุณใส่โปรแกรมตัวนี้ไว้ที่ flash drive แล้วนำไปใช้
ที่ไหนก็ได้เนื่องจากมันเป็นโปรแกรมแบบ portable ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด little registry cleaner
เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรมมาจะได้ zip file มาให้แตก zip ออกเพื่อเปิดเรียกใช้งานโปรแกรมโดยไม่ต้อง install



little registry cleaner มีหน้าตา interface ของโปรแกรมที่ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นข้อดีที่ทำ
ให้คุณสามารถใช้งานมันได้ทันทีโดยไม่ต้องศึกษาข้อมูลการใช้งานให้วุ่นวาย

เมื่อเรียกใช้โปรแกรมครั้งแรก โปรแกรมจะบอกให้คุณสร้าง restore point เพื่อให้สามารถ
กู้กลับมาได้หากเกิดข้อผิดพลาดในการลบ registry




จากนั้นคุณสามารถคลิ๊กที่ปุ่ม “scan registry” เพื่อเริ่มต้นการค้นหาได้ทันที



มาเริ่ม scan ระบบกันเลยดีกว่าครับ


เพื่อ scan เสร็จเรียบร้อยก็จะแสดงรายการที่มีปัญหาทั้งหมดออกมา ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่า
จะลบทั้งหมด หรือลบแค่บางตัว ซึ่งในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นคุณก็สามารถทำการ restore
ค่ากลับมาได้โดยไม่มีปัญหา จากการทดสอบหลังจากลบค่า registry ที่มีปัญหาคอมพิวเตอร์ทำงาน
ได้ไวขึ้น และตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น


ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย hp server และ ibm server

มีอะไรใน Internet Explorer 8

เมื่อคุณเช็คอีเมลจากอินเทอร์เนตคาเฟ่หรือซื้อของขวัญโดยใช้คอมพิวเตอร์ของครอบครัว
และคุณไม่อยากทิ้งร่องรอยการเรียกดูเว็บไซต์เหล่านี้ไว้

การเรียกดูแบบ InPrivate
เมื่อคุณเช็คอีเมลจากอินเทอร์เนตคาเฟ่หรือซื้อของขวัญโดยใช้คอมพิวเตอร์ของครอบครัว
และคุณไม่อยากทิ้งร่องรอยการเรียกดูเว็บไซต์เหล่านี้ไว้ การเรียกดูแบบ InPrivate
ใน Internet Explorer 8 จะช่วยป้องกันไม่ให้เบราว์เซอร์จดจำประวัติการเรียกดู แฟ้มอินเทอร์เนตชั่วคราว
 ข้อมูลฟอร์ม คุกกี้ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เพื่อไม่ให้มีหลักฐานการเรียกดูหรือประวัติการค้นหา
หลงเหลืออยู่

คุณสามารถเริ่มใช้การเรียกดูแบบ InPrivate ได้โดยการเปิดแ็ท็บใหม่และเลือก เรียกดูด้วย InPrivate
หรือคลิกปุ่มความปลอดภัยที่มุมขวาบนของหน้าต่างเบราว์เซอร์ เมื่อคุณดำเนินการเสร็จ
Internet Explorer 8 ก็จะเปิดใช้งานเซสชันเบราว์เซอร์ใหม่ซึ่งจะไม่มีการบันทึกข้อมูลใดๆ
รวมทั้งข้อมูลการค้นหาหรือการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ หากต้องการสิ้นสุดเซสชันการเรียกดู
แบบ InPrivate ก็เพียงแค่ปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์




การกรองแบบ InPrivate
ทุกวันนี้ เว็บไซต์ต่างๆ ได้ดึงเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นประโยชน์มหาศาลต่อ
ทั้งผู้บริโภคและเว็บไซต์ ทว่า ผู้ใช้งานมักไม่ได้ตระหนักว่าข้อมูลบางอย่าง ภาพ โฆษณา
และการวิเคราะห์ต่างๆ ถูกจัดหาให้โดยเว็บไซต์อื่น หรือเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นนั้นอาจสามารถ
ติดตามพฤติกรรมการใช้งานของคุณไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้ การกรองแบบ InPrivate จะช่วยใ
ห้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มระดับการควบคุมและตัวเลือกเกี่ยวกับข้อมูลที่เว็บไซต์อื่นอาจใช้
เพื่อติดตามกิจกรรมการเรียกดูของคุณ

การกรองแบบ InPrivate นั้นจะปิดการทำงานตามค่าเริ่มต้น และจะเปิดทำงานตามเซสชัน
แต่ละเซสชัน หากต้องการใช้งานคุณลักษณะดังกล่าว ให้เลือกการกรองแบบ InPrivate
ในเมนูความปลอดภัย หากคุณต้องการเข้าถึงและจัดการตัวเลือกการกรองอื่นๆ สำหรับ
Internet Explorer 8 ให้เลือกการกรองแบบ InPrivate ในเมนูความปลอดภัย หากต้องการสิ้นสุด
เซสชันการเรียกดูแบบ InPrivate ก็เพียงแค่ปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์

หมายเหตุ: เนื่องจากการกรองแบบ InPrivate ได้รับการออกแบบมาให้เฝ้าระวังและบล็อกเนื้อหา
จากเว็บไซต์อื่นที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งเมื่อคุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ การบล็อกเนื้อหาจะไม่ทำงาน
นอกจากเนื้อหาดังกล่าวจะปรากฏขึ้นถี่จนถึงระดับที่ตรวจพบ หรือเป็นเนื้อหาที่มีจากเว็บไซต์
ที่คุณเยี่ยมชมโดยตรง นอกจากนั้นกิจกรรมการเีรียกดูเว็บไซต์และเว็บไซต์์ที่คุณเยี่ยมชมยัง
เป็นตัวแปรที่ส่งผลให้ระยะเวลาการดูเนื้อหาก่อนจะถูกบล็อกโดยอัตโนมัติแตกต่างกันอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถกำหนดได้ว่าจะบล็อกหรืออนุญาตเนื้อหาใดจากเว็บไซต์อื่น
โดยเลือกตัวเลือกการตั้งค่าการกรองแบบ InPrivate ในเมนูความปลอดภัย

การลบประวัติการเรียกดูขั้นสูง
ตอนนี้ เมื่อคุณลบประวัติการเรียกดู คุณสามารถเลือกจัดเก็บคุกกี้และไฟล์อินเทอร์เน็ตชั่วคราว
ของเว็บไซต์ในโฟลเดอร์รายการโปรดของคุณ ซึ่งช่วยปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของคุณ
พร้อมกับรักษาข้อมูลของคุณในเว็บไซต์โปรดที่คุณไว้วางใจ การกำหนดลักษณะและคุกกี้
ของคุณที่ถูกเก็บไว้นั้นจะช่วยให้คุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่คุณวางใจได้รวดเร็วและมั่นใจยิ่งขึ้น

Credit : http://technology.impaqmsn.com/

ควบคุมการใช้งาน Windows Service

เวลาที่คุณต้องการจะทำงานกับ Windows Service ไม่ว่าจะเป็นการดูรายการ Service
ที่กำลังทำงานอยู่, หยุดการทำงาน Service หรือเปลี่ยนการตั้งค่า Service โดยไม่ต้อง Restart ระบบ
ในการทำงานดังกล่าวกับ Windows Service นั้นเรามีโปรแกรมตัวหนึ่งที่ชื่อ SrvMan
ซึ่งสามารถช่วยให้การทำงานงานขึ้น >>คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด SrvMan<< โปรแกรมตัวนี้
มีขนาดไฟล์เล็กและเป็นแบบ portable ซึ่งมี Graphic Interface แสดงผล หรือจะเลือกใช้งาน
ผ่าน Command Line ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตา่มโปรแกรมในการจัดการ Windows Service ผู้ใช้
จะต้องมีความเข้าใจระบบ Windows พอสมควรจึงจะใช้ได้อย่างปลอดภัยเพราะการลบ
การทำงาน Service บางตัวอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของระบบได้ ภาพข้างล่าง
แสดงการเลือก start mode คำสั่ง command line 1. สร้าง Service srvman.exe add [service name]
[display name] [/type:] [/start:] [/interactive:no] [...]


เวลาที่คุณต้องการจะทำงานกับ windows service ไม่ว่าจะเป็นการดูรายการ service
ที่กำลังทำงานอยู่, หยุดการทำงาน service หรือเปลี่ยนการตั้งค่า service โดยไม่ต้อง restart ระบบ
 ในการทำงานดังกล่าวกับ windows service นั้นเรามีโปรแกรมตัวหนึ่งที่ชื่อ srvman
ซึ่งสามารถช่วยให้การทำงานงานขึ้น

คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

โปรแกรมตัวนี้มีขนาดไฟล์เล็กและเป็นแบบ portable ซึ่งมี graphic interface แสดงผล
หรือจะเลือกใช้งานผ่าน command line ก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตา่มโปรแกรมในการจัดการ windows service ผู้ใช้จะต้องมีความเข้าใจระบบ windows
พอสมควรจึงจะใช้ได้อย่างปลอดภัยเพราะการลบการทำงาน service บางตัวอาจทำให้
เกิดปัญหาในการทำงานของระบบได้




ภาพข้างล่างแสดงการเลือก start mode



คำสั่ง command line


1. สร้าง service
srvman.exe add [service name] [display name] [/type:] [/start:] [/interactive:no] [/overwrite:yes]
service name เป็นชื่อที่่ windows ใช้เป็นตัวอ้างอิงกับ service display name คือชื่อที่แสดง
ใน windows service snap-in โดย default แล้วทั้งสองชื่อจะถูกสร้างจากไฟล์ประเภท .exe หรือ .sys

ประเภทของ service
drv - สร้าง kernel driver
exe - สร้าง win32 service
sharedexe - สร้าง win32 service ที่มี shared executable file
fsd - สร้าง file system driver service
app - สร้าง service ประเภท windows application

ประเภทของ start mode
boot - service เริ่มทำงานเมื่อ os ถึงเรียกทำงาน
sys - service เริ่มทำงานเมื่อ ioinitsystem() ถูกเรียกใช้งาน
auto - service เริ่มทำงานผ่าน service control manager ในระหว่างที่มีการ startup
man - service เร่ิมทำงานเมื่อถูกสั่งแบบ manual (start/stop)
dis - service จะไม่ถูกเรียกให้เริ่มทำงาน

โดย default แล้ว win32 จะสร้าง interactive service หากต้องการสร้าง non-interactive service
คุณจะต้องเลือกค่า interactive:no จึงจะสามารถทำได้ และถ้า service ใด ๆ มีอยูก่อนแล้ว srvman
จะรายงาน error ให้ทราบ อย่างไรก็ตามหากคุณใช้ overwrite:yes ระบบจะทำงานทับค่า service
เก่าเมื่อซ้ำกันแทนที่จะรายงาน error

2. การลบ service
srvman.exe delete
ให้คุณใส่ internal service name ไม่ใช่ display nme

3. start/stop/restart
คุณสามารถควบคุมคำสั่ง start/stop/restart โดยใช้ command lind
srvman.exe start [/nowait] [/delay:]
srvman.exe stop [/nowait] [/delay:]
srvman.exe restart [/delay:]

4. ทดสอบ legacy drivers
srvman.exe run [service name] [/copy:yes] [/overwrite:no] [/stopafter:]
หากคุณไม่ต้องการจะใช้ command line ทั้ง 4 ข้อข้างบนนี้ก็สามารถใช้งานผ่านหน้าโปรแกรม
ซึ่งมี gui รองรับการใช้งานได้ค่อนข้างสะดวกทีเดียว

ลิขสิทธิบทความของ 2beshop.com
ผู้แทนจำหน่าย ibm storage และ server

การ Save ไฟล์ Flash จากเว็บต่าง ๆ

Save ไฟล์ Flash หลาย ๆ ท่านที่เห็นไฟล์ Flash ตามเว็บต่าง ๆ แล้วอยากจะ Save เก็บไว้
แต่ไม่สามารถ Save ได้
เนื่องจากไม่มีคำสั่ง Save pictue as วันนี้ผมจะมาแนะนำการ Save ไฟล์ Flash กันง่าย ๆ ครับ
แต่ต้องมีโปรแกรมช่วยซึ่งโปรแกรมนั้ก็คือ FlashCapture Download คลิกที่นี่ เมื่อ Download
พร้อมทำการติดตั้ง (ต้อง Restart ก่อน) จากนั้นให้เข้าไปที่เว็บที่ต้องการจะ Save Flash จากนั้น
คลิกขวาที่รูปที่ต้องการ Save เลือก Save Flash AS.. จากนั้นเลือกว่าจะเก็บไว้ที่ไหน และตั้งชื่อไฟล์
แล้วคลิก Save เพียงเท่านี้ก็สามารถ Save ไฟล์ Flash ได้แล้วครับ ง่ายจริง ๆ






Credit  : www.bcoms.net

รวมคำสั่ง DOS เวลาซ่อมคอม

 ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมาก
หลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย
แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้
คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ
การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่ง
บางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน

Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่
จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos
 ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้าง
ที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน

CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน
คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อน
จึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้

รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\
เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\ กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับ
ไปที่ C:\ >
CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้
ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>

CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์
หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์
หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster
จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์
ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก
อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์
แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)

รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา

COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ
คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา

รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C

DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ
เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง

รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้

DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก
รูปแบบคำสั่ง
DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D

FDISK ( Fixed Disk)
เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์
ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่ง
ที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง
 ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้

รูปแบบคำสั่ง
FDISK /STATUS
ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์

FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง
เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK
เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดิสก์

รูปแบบคำสั่ง
FORMAT drive: [/switches]
/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format)
/S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมต
สามารถบูตได้
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format

MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี
MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรี
ชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos

รูปแบบคำสั่ง
MD [drive:] path
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC

REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อ
ไดเร็คทอรีได้

รูปแบบคำสั่ง
REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA
ให้เป็น PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD

SCANDISK
คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ
ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT
และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป

ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรม
จะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำการแก้ไข

รูปแบบคำสั่ง
SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX
/AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ

Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์
Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text
ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ จะไม่สามารถอ่านได้

รูปแบบคำสั่ง
TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT
C:\>NORTON\TYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT
ในไดเร็คทอรี NORTON

XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี
XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง COPY แต่ทำงานได้เร็วกว่า
และสามารถคัดลอก ได้ทั้งไดเร็คทอรีและไดเร็คทอรีย่อย

รูปแบบคำสั่ง
XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E
/E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อยที่ว่างเปล่าด้วย
/S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F
C:\>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE
ไปที่ไดรว์ A

ข้อความแจ้งปัญหาในดอส
ในการทำงานบนดอสบางครั้งก็เกิดปัญหาได้บ่อย ๆ เหมือนกัน ซึ่งการเกิดปัญหาแต่ละครั้ง
ก็จะมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุจากอะไร ต่อไปนี้เป็นข้อความแจ้งปัญหา
ที่มักพบได้บ่อย ๆ มีดังนี้

Abort, Retry, Fail ?
จะพบได้ในการณีที่ไดรว์ไม่มีแผ่นดิสก์อยุ่แล้วเรียกใช้ข้อมูลจากไดรว์นั้น การแก้ไขก็นำแผ่นดิสก์
ที่ต้องการใช้มาใส่เข้าไป

กดปุ่ม < R > (Retry) : การทำงานจะทำต่อจากงานที่ค้างอยู่ก่อนเกิดความผิดพลาด
กดปุ่ม < A > (Abort) : รอรับคำสั่งจะไปอยู่ในไดรว์ที่สั่งงานล่าสุด
กดปุ่ม < F > (Fail) : เมื่อต้องการยกเลิกการทำงาน และเปลี่ยนไดรว์ใหม่

Bad Command or file name : ใช้คำสั่งผิดหรือไฟล์ที่เรียกใช้งานนั้นไม่สามารถเรียกใช้ได้ การแก้ไข
ตรวจสอบบรรทัดคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น พิมพ์คำสั่งหรือชื่อไฟล์ถูกต้องหรือไม่ แล้วลองรัน
คำสั่งดูใหม่อีกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับเวอร์ชันของดอสไม่มีคำสั่งนั้นก็ได้

File not found : ไม่สามารถหาไฟล์นั้นพบ อาจไม่มีไฟล์นั้น หรืออาจพิมพ์ชื่อไฟล์นั้น
ผิดจากที่ต้องการ นอกจากนี้อาจเกิดจากพาธ (Path) ที่สั่งงานไม่มีไฟล์นั้น
Insufficient memory หรือ Out of memory Insufficient memory : หน่วยความจำไม่พอต่อความต้องการ
ของโปรแกรม
Out of memory : โปรแกรมเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วนแล้วหน่วยความจำไม่พอ
ระบบจึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
Directory already exits : เกิดขึ้นเมื่อสร้างไดเร็คทอรีแล้วไปซ้ำกับซื่อที่มีอยู่แล้วในพาธเดียวกัน
Duplicate file ot file not found : ถ้าเปลี่ยนชื่อไฟล์ไปซ้ำกับชื่อที่มีอยู่จะทำไม่ได้และจะแจ้งเตือน
ดังข้อความดังกล่าว
InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล
วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออก

คำศัพท์ไอที

มาดูรายละเอียด คำย่อ ศัพท์ไอทีเพื่อให้ง่ายมากขึ้นในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไอที และเทคโนโลยีใหม่ๆ
เราจึงพยายามรวบรวมคำย่อต่างๆ ไว้ให้คุณเพื่อจะได้ทราบถึงความหมายและสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 คำย่อ: NAS
คำเต็ม: Network Attached Storage
ความหมาย: อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ที่ใช้เป็นศูนย์กลางผ่านทางระบบเครือข่าย

คำย่อ: NAT
คำเต็ม: Network Address Translation
ความหมาย: การแปลงไอพี แอดเดรสแท้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาเป็นไอพีปลอมในระบบเครือข่ายของเรา
หรือในทางกลับกัน

คำย่อ: OS
คำเต็ม: Operation System
ความหมาย: ระบบปฏิบัติการ เช่น Windows, Linux เป็นต้น

คำย่อ: PDA
คำเต็ม: Portable Digital Assistant
ความหมาย: อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่า Notebook แต่มีความสามารถใกล้เคียง สามารถพกพาไปไหนได้สะดวก

คำย่อ: POP3
คำเต็ม: Post Office Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับรับส่งเมล์ และมีการพัฒนาถึงเวอร์ชั่น 3

คำย่อ: PPP
คำเต็ม: Point to Point Protocol
ความหมาย: มาตรา ฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับการรวบข้อมูลแล้วส่งออกไปทางพอร์ตอนุกรม
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สอง ระบบสามารถสื่อสารกันได้ คล้ายๆ กับ SLIP

คำย่อ: RAS
คำเต็ม: Remote Access Server
ความหมาย: บริการการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระยะไกล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากบ้าน
มายังสำนักงาน เป็นต้น
คำย่อ: ADSL
คำเต็ม: Asymmetric Digital Subscriber Line
ความหมาย: เทคโนโลยีหนึ่งใช้ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง ผ่านทางสายโทรศัพท์

คำย่อ: ASP
คำเต็ม: Active Server Page
ความหมาย: ภาษาหนึ่งในการพัฒนาเว็บในรูปแบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ และเชื่อมกับระบบฐานข้อมูล
ซึ่งพัฒนาโดย Microsoft

คำย่อ: CDMA
คำเต็ม: Code Division Multiple Access
ความหมาย: อีกรูปแบบหนึ่งในการรับส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 153 kpbs

คำย่อ: CGI
คำเต็ม: Common Gateway Interface
ความหมาย: การ เชื่อมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ใช้มาตราฐานสื่อสาร HTTPเช่นการเขียน FORM
ในการกรอบข้อมูลเป็นต้น สำหรับภาษาที่ใช้เขียน CGIได้แก่ Perl หรือ C

คำย่อ: EDP
คำเต็ม: Electronic Data Processing
ความหมาย: ประมวลผลข้อมูลทางด้านอิเล็คทรอนิสก์

คำย่อ: DSS
คำเต็ม: Digital Signature Standard
ความหมาย: มาตรา ฐานการสร้างรหัสเพื่อยืนยันตัวผู้ส่งข้อมูล โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดขึ้น
เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากใครโดยผู้อื่นไม่สามารถปลอมแปลงได้

คำย่อ: DHCP
คำเต็ม: Dynamic Host Configuration Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง (Protocol) ทำหน้าที่ในการแจกจ่ายไอพี แอดเดรส
และพารามิเตอร์ในระบบเครือข่าย

คำย่อ: DNS
คำเต็ม: Domain Name Server
ความหมาย: ชื่อเว็บไซต์

คำย่อ: D-I-Y
คำเต็ม: Do It Yourself
ความหมาย: ทำด้วยตัวเอง เช่นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง เป็นต้น

คำย่อ: EDGE
คำเต็ม: Enhanced Data Rates for Global Evolution
ความหมาย: เทคโนโลยีระดับ G3 ตามมาตราฐานโลก ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
ในระบบ GSM มีอัตราการรับส่งข้อมูลถึง 236 kbps

คำย่อ: FTP
คำเต็ม: File Transfer Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่งในระบบเครือข่าย ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูล

คำย่อ: GPRS
คำเต็ม: General Packet Radio Service
ความหมาย: ระบบการสื่อสารไร้สาย (wireless) ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วความเร็วสูง แต่ช้ากว่า EDGE 4 เท่า

คำย่อ: HTML
คำเต็ม: Hyper Text Markup Language
ความหมาย: ภาษามาตราฐานสำหรับการสร้างเว็บ เป็นภาษาที่บราวเซอร์เข้าใจ

คำย่อ: HTTP
คำเต็ม: Hyper Text Transfer Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารในระบบเครือข่ายประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลแอนด์

คำย่อ: IIS
คำเต็ม: Ineternet Information Server
ความหมาย: โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำหน้าที่เป็นเซอร์เวอร์ของอินเตอร์เน็ต

คำย่อ: ISP
คำเต็ม: Internet Service Provider
ความหมาย: บริษัทที่ให้บริการ Internet (การเชื่อมต่อ)

คำย่อ: I.T.
คำเต็ม: Information Technology
ความหมาย: ข้อมูลทางด้านสาระสนเทศ

คำย่อ: IE
คำเต็ม: Internet Explorer
ความหมาย: โปรแกรมสำหรับแสดงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Browser จากค่าย Microsfot

คำย่อ: IMAP4
คำเต็ม: Internet Message Access Protocol 4
ความหมาย: มาตรา ฐานการสื่อสารในการรับส่งเมล์ อีกประเภทหนึ่ง มีความสามารถหลากหลายมากว่าPOP
 เช่น รองรับการใช้งานแบบ Offline, Online สามารถเลือก downloadเมล์ที่ต้องการได้ เป็นต้น

คำย่อ: LAN
คำเต็ม: Local Are Network
ความหมาย: ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ภายในองค์กร

คำย่อ: MAN
คำเต็ม: Metropolitan Area Network
ความหมาย: ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่เป็น 100 กิโลเมตร

คำย่อ: MIMO
คำเต็ม: Multiple in, multiple out
ความหมาย: เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่สามารถเพิ่มช่องส่งสัญญาณและพื้นที่ได้โดยใช้เสาอากาศ
หลายๆ ตัว (Wireless Technology)

 คำย่อ: SAN
คำเต็ม: Storage Area Network
ความหมาย: ระบบเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลด้วยความเร็วสูง รองรับการบันทึกข้อมูลด้วยสื่อหลายประเภท

คำย่อ: SET
คำเต็ม: Secure Electronic Transaction
ความหมาย: มาตราฐานการส่งข้อมูลชำระเงินทางบัตรเครดิต ผ่านทางระบบเครือข่าย
โดยมีการเข้ารหัสในรูปแบบ Digital Signature

คำย่อ: SLIP
คำเต็ม: Serial Line Internet Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับส่งข้อมูล TCP/IP ผ่านทางพอร์ตอนุกรม
โดยบริษัท 3COM เป็นผู้คิดค้น

คำย่อ: SMTP
คำเต็ม: Simple Mail Transfer Protocol
ความหมาย: ระบบ mail ที่ใช้สำหรับการส่งออก มีความหมายตรงข้ามกับ Incoming Mail

คำย่อ: SSL
คำเต็ม: Secure Socket Layer
ความหมาย: มาตราฐานการรับส่งข้อมูลผานอินเตอร์เน็ต เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

คำย่อ: TCP/IP
คำเต็ม: Transmission Control Protocol / Internet Protocal
ความหมาย: มาตราฐานสื่อสารที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลทางเครือข่าย

คำย่อ: URL
คำเต็ม: Uniform Resource Locator
ความหมาย: ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บ ตลอดจนที่เก็บไฟล์

คำย่อ: USB
คำเต็ม: Universal Serial Bus
ความหมายช่องทางการสื่อสาร (port) ในอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงมาก

:คำย่อ: UTP
คำเต็ม: Unshielded Twisted Pair
ความหมาย: สายแลนประเภทหนึ่ง ที่มีการตีเกลียวคู่ 4 คู่ภายในเส้นเดียวกัน ใช้สำหรับ
รับ-ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย

คำย่อ: WAP
คำเต็ม: Wireless Application Protocol
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

คำย่อ: WiMax
คำเต็ม: Worldwide Interoperability for Microwave Access
ความหมาย: มาตราฐานการสื่อสารเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย ที่ใช้มาตราฐาน IEEE 802.16
คำย่อ: VB
คำเต็ม: Visual Basic
ความหมาย: ภาษาหนึ่งในการพัฒนาโปรแกรมทางด้านคอมพิวเตอร์

คำย่อ: VPN
คำเต็ม: Virtual Private Network
ความหมาย: การเชื่อมต่อผ่าน internet โดยมีการเข้ารหัสข้อมูลทั้งต้นทางและปลายทาง

คำย่อ: WAN
คำเต็ม: Wide Area Network
ความหมาย: ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อภายในและภายนอกองค์กร

เทคโนโลยี RAID ระดับต่าง ๆ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพให้คอมพิวเตอร์

RAID (Redundant Array of Inexpensive Disks) เป็นการนำเอาฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไป
มาเชื่อมต่อให้ทำงานร่วมกันเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวเดียว

สิ่งที่ผู้ใช้ได้รับนอกจากจะได้อัตราการโอนถ่ายข้อมูลที่สูงขึ้นทั้งการอ่าน และการเขียนแล้ว
ยังช่วยลดอัตราการสูญเสียของข้อมูลให้น้อยลงในกรณีที่ฮาร์ดแวร์ทำงานผิดพลาด ได้อีก

ด้วยนะครับสำหรับ RAID ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ RAID 0, RAID 1
และ RAID 0+1 หรือว่า RAID 10 นั่นเอง แต่ละแบบจะแตกต่างกัน เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังนะครับ

RAID 0 เป็นการทำให้ความเร็วของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือที่เรียกกันว่า Striping ซึ่งความเร็ว
ในการเขียนและอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์จะเพิ่มตามจำนวน ฮาร์ดดิสก์ที่นำมา ใช้ข้อมูลที่เราจัดเก็บลงไป
ในฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนั้นเวลาที่เราเรียกใช้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์จะอ่านข้อมูล
ที่แบ่งมาที่มันเพียงบางส่วนและอีกส่วนจะอยู่ที่ ฮาร์ดดิสก์ตัวอื่น ๆ ที่นำ RAID 0 นี้มันเป็นการทำให้ลดภาระ
ในการอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ลง

RAID 1 เป็นการทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงขึ้น หรือเรียก RAID 1 ว่า Disk Mirror การทำงาน
ของ RAID 1 คือ เมื่อเราจัดเก็บข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเหมือนกันและพร้อมกัน
เหมือนกันกับการสำรองข้อมูลนั่นเอง ถ้าข้อมูลเกิดการเสียหายที่ฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง ก็ยังสามารถใช้ข้อมูล
จากฮาร์ดดิสก์อีกตัวได้เพราะว่าเป็นข้อมูลตัวเดียวกัน แต่ว่าความเร็วของฮาร์ดดิสก์ไม่ได้เพิ่มเป็น 2 เท่า
เหมือนกับ RAID 0 จะยังคงเป็นความเร็วเท่าเดิมอยู่

RAID 0+1 หรือ RAID 10 เป็นการนำ RAID 0 กับ RAID 1 มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ทั้งความเร็ว
และความปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง RAID 10 จะต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ 4 ตัว โดยหลัก

การทำงานของ RAID 10 คือ
ในการจัดเก็บข้อมูลนั้น ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนเหมือน RAID 0 แล้วมีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะ
ของ RAID 1 คือเหมือนเป็นการสำรองข้อมูลอีกครั้งนึง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

แล้วการทำ RAID จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้ครับ ถ้าจำไม่ผิดจะมีทั้งหมด 53 แบบด้วยกัน แต่ว่า 3 แบบ
ที่ผมได้ให้รายละเอียดไปจะได้รับความนิยมมากที่สุด ปกติการทำ RAID จะทำกับเครื่อง Server
แต่ว่าปัจจุบันความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) มีมากขึ้น
และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงสามารถใช้เทคโนโลยี RAID ได้
กับเครื่อ PC ฮาร์ดดิสก์ที่นำมาใช้ทำ RAID น่าจะเป็น Serial ATA จะดีที่สุด เพราะว่าอัตราการส่ง
และโอนถ่ายข้อมูลทำได้ดีกว่า ฮาร์ดดิสก์ ATA จะมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 133 Mbps
(Megabyte per second) แต่ถ้าเป็น Serial ATA จะมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 150 Mbps
 (Megabyte per second)

การจะทำ RAID จะต้องใช้เมนบอร์ดที่มี chipset ที่รองรับการทำ RAID ด้วย
( ส่วนใหญ่จะหนักไปทาง chipset ของ INTEL ซะมากกว่า ) แต่ว่าถ้าไม่รองรับก็จะมีตัวอุปกรณ์พิเศษ
ที่นำมาใช้ทำ RAID ได้เช่นกัน

การทำ RAID จะมี 2 แบบด้วยกันคือ ด้วย Hardware กับด้วย Software ถ้าทำ RAID ด้วย Hardware
คือจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเข้ามาช่วย ( อันนี้ไม่เคยทำครับ ) อีกแบบคือทำ RAID ด้วย Software
คือใช้ตัวซอฟต์แวร์ในการจัดการ เราจะต้องมีตัวซอฟต์แวร์ หรือ Driver RAID ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละตัว
มีซอฟต์แวร์ในการทำ RAID ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราไม่สามารถจะนำฮาร์ดดิสก์ที่ทำ RAID จากเมนบอร์ดตัวนึง
ไปใช้งานกับเมนบอร์ดตัวอื่นได้ ถ้าจะใช้จะต้องทำ RAID ใหม่ครับ และเมื่อเราถอดฮาร์ดดิสก์ที่ทำ RAID
มาต่อเป็นตัวเดียวหรือแบบธรรมดา ก็ไม่สามารถใช้งานได้อีกเช่นกัน ระบบปฏิบัติการที่จะใช้ร่วมกับ
การทำ RAID นะครับ เท่าที่ลองมาจะเป็น windows XP Service Pack 2 ส่วนวิธีการก็แตกต่างกันไป
แล้วแต่เมนบอร์ดแต่ละยี่ห้ออีกเช่นกัน ค่อนข้างยุ่งยากมากเลยทีเดียว


Credit : http://smf.ruk-com.in.th

ผู้ติดตาม