วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จอTouch Screen Resistive กับ Capacitive คืออะไร

หน้าจอTouch Screen Resistive กับ Capacitive คือ

ระบบหน้าจอTouch Screen บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีมาช้านานแล้วตั้งแต่ปี 1960
ซึ่งระบบหน้าจอสัมผัสจริงๆแล้วนั้นแพร่หลายอยู่บนเครื่องอุปกรณ์พกพาในรูปแบบต่างๆ
เช่นพวกเครื่องเก็บเงินตามโต๊ะแคชเชียร์ หรืออุปกรณ์เช็คสต๊อคสินค้าต่างๆ
เพราะด้วยความสะดวกที่มีมากกว่าจะต้องใช้ Keyboard หรือ Mouse
เพราะหน้าจอระบบสัมผัสส่วนมากจะสามารถใช้นิ้วแตะเพื่อป้อนคำสั่งได้
จนในที่สุดระบบหน้าจอสัมผัสมันเลยกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดเด่นสำหรับอุปกรณ์พกพา
ในรูปแบบ PDA ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่ PDA เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง Newton
ของ Apple หรือแม้แต่ Palm สุดยอด PDA ยอดนิยมเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว

ระบบหน้าจอTouch Screen ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเกี่ยวกับระบบหน้าจอสัมผัส
ของเครื่อง PDA Phone กันสักเท่าไร เพราะรู้กันว่า PDA Phone ในโลกแทบทุกเครื่อง
เป็นระบบหน้าจอสัมผัสกันหมด และก็จะมีแท่งปากกา ที่เรียกว่า Stylus
เอาไว้จิ้มใช้สั่งงาน แต่ความสับสนเกี่ยวกับหน้าจอมันเกิดขึ้นมาจาก iPhone ตัวเดียวจริงๆ
ที่ปลุกกระแสหน้าจอแบบ Capacitive ให้เกิดขึ้นมา เพราะแรกๆเมื่อสัมผัส iPhone
จะรู้สึกทันทีว่ามันแตะได้หนึบติดนิ้วดีมาก แต่พอเอา Stylus ของเครื่อง PDA phone ทั่วไป
มาจิ้มกลับไม่สามารถสั่งงานได้ เลยเป็นคำถามคาใจว่าหน้าจอระบบทัชสกรีน
ซึ่งปกติเอา Stylus จิ้มได้นั้น ปัจจุบันมันมีกี่แบบกันแน่

ในความเป็นจริงแล้วหน้าจอTouch Screen นั้นมันมีหลากหลายรูปแบบมาก
แต่ที่นิยมใช้ในเครื่อง PDA Phone ยุคนี้ก็จะมีอยู่สองแบบคือ
แบบ Resistive กับ Capacitive และด้วยเรื่องรูปแบบของระบบสัมผัสหน้าจอนี้แหละ
มันเลยกลายเป็นจุดขายอย่างหนึ่งของเครื่องยุคปี 2009
เพราะเนื่องจากระบบ Touch interface มันเกิดได้รับความนิยมสูงสุดแบบไม่เคยมีมาก่อน
มันเลยทำให้คนให้ความสำคัญการทำงานด้วยนิ้วเป็นหลัก
แต่เครื่อง PDA Phone ในตลาดส่วนมากจะเป็นหน้าจอแบบ Resistive
เลยทำให้การสัมผัสสั่งงานด้วยนิ้วมันทำงานได้ไม่ค่อยดีเท่าไร
มันตอบสนองสู้ iPhone ไม่ได้ ก็เพราะว่าหน้าจอ iPhone มันเป็นหน้าจอTouch Screen
แบบ Capacitive นั่นเอง ซึ่งตอบสนองการสั่งงานด้วยนิ้วได้ดีกว่า
แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถใช้ Stylus หรือวัสดุอื่นๆจิ้มได้






มาดูความแตกต่างระหว่างหน้าจอTouch Screen
แบบResistive กับ Capacitiveว่าเป็นอย่างไร

หน้าจอTouch Screenแบบ Resistive

เทคโนโลยี Resistive ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัดและเหมาะกับการใช้งาน
ประเภทต่างๆได้กว้างขวาง เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าที่ใช้เครื่อง POS
งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในอุปกรณ์พกพาอย่าง PDA, Mobile เป็นต้น
จอTouch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วย เลเยอร์ด้านบน
ที่ยืดหยุ่นและเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่บนพื้นแข็งคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวน
ซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านในของ 2เลเยอร์สัมผัสกันเพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้
จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติโปร่งแสง
ในเวลาสัมผัสจะมีการปล่อยกระแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อคุณกดที่
Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุม
ก็จะคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัส
เมื่อคำนาณค่ากระแสตามแนวตั้งและแนวนอนก็จะได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ




 จอTouch Screen แบบResistive

ราคาไม่แพง
ใชอะไรสัมผัสก็ได้
หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด
กินไฟน้อย


หน้าจอTouch Screenแบบ Capacitive

เทคโนโลยี Capacitive มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งความทนทาน
ความโปร่งแสงมักเป็นที่นิยมใน Application ประเภท เกมส์ Entertrainment
ATM, Kiosk อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม และ POS โครงสร้างของ
TouchScreen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิว
ด้วยอ็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งาน
ก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้งสี่ของ Touch Screen
เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งแผ่น
ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าๆสัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรงดันตกลง
จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำ้เหน่งที่สัมผัสได้



จอTouch Screen Capacitive

 มีความคมชัด
แสงจากหน้าจอสามารถผ่านออกมาได้ ภาพจึงชัด
หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด สามารถสัมผัสด้วยนิ้ว







วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จอLED

จอLEDคือ
ยุคนี้ถือเป็นยุคของLCDเฟื่องฟูอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมอนิเตอร์
หรือทีวีก็ตาม ด้วยราคาที่แสนเร้าใจ
 แถมยังคุณภาพของภาพที่ได้ก็ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอLED
เริ่มมีมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่คงยังมีความสับสนอยู่ไม่น้อย
กับจอภาพLCD และLED ที่เข้ามาจำหน่วยอยู่ในเวลานี้
แท้จริงแล้วคืออะไร เป็นแบบไหนกันแน่ มาดูกัน


จอภาพแอลอีดี LED ย่อมาจาก Light-emitting-diod
ที่มีออกมาจำหน่วยในเวลานี้ ต้องเรียกว่าเป็นจอภาพ
ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นยุคถัดไปที่จะมาแทนที่จอLCD
เรียกว่า จอภาพแบบโอแอลอีดี(OLED)
จะใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงรายกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพ
ด้วยการติดดับของหลอดแอลซีดี ซึ่งก็ได้ภาพที่คมชัดขึ้นกว่า LCD
ความจริงแล้ว มันยังคงเป็นจอ LCD ทั้งคู่ เพียงแต่ว่า
เทคโนโลยีที่ให้แสงสว่างด้านหลัง หรือที่เรียกว่า Backlit ต่างกัน
โดยจอ LCD ทั่วไปจะใช้ CCFL (Cold Cathode Florescent Lamp)
เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสีขาวอยู่ด้านหลัง (ดังรูปข้างบน)
ซึ่งหากหลอด CCFL ได้รับการกระแทกแตกหักไป
หน้าจอจะมึดไม่สว่างอย่างที่เห็น ในขณะที่จอ LED จะใช้แอลอีดีขนาดเล็ก
ให้แสงสว่างแทน ซึ่งจุดเด่นของการใช้ LED ก็คือ แสงที่สว่างสดใสกว่า
มีคอนทราสที่สูงกว่า สีดำจะดำสนิทเหมือนจอพลาสม่า
ทำงานเร็ว (ไดนามิกของแสง) และก็ประหยัดไฟกว่า ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้
ทำให้ผู้บริโภคสนใจจอ LED กันมากขึ้น
สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ก็เช่น จอ LED Cinema Display ของ Apple,
จอ LED ของ Samsung เป็นต้น


                                                                                                      จอLCD
              
 
จอLED



วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลือกซื้อ AirCard 3G

3G คืออะไร
ระบบ3G
(UMTS) นั้นคือการนำเอาข้อดีของระบบCDMA

มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดย
บริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น
ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA
ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA HSUPA และ HSPA+
HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุด

ที่Download 14.4 Mbps Upload 384 Kbps.
ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการ
อยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น
HSUPAจะเหมือนกับ HSDPAทุกอย่างแต่การUploadข้อมูล
จะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต
การDownload ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps Upload 22 Mbps
สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ3G HSPA ที่ Operator AIS

หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download
จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

การเลีอกซื้อ 3G ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard
แบบที่รองรับ 3G
คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลกจะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐาน
คือ 850 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้
คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช.ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 และ 2100 จะถูกพัฒนาโดย TOT

ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard / Router หรือ โทรศัพท์มือถือ

และต้องการให้รองรับ 3G ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่าสามารถ
รองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือไม่ หรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น
ซึ่งส่วนนี้ก็สำคัญไม่ควรมองข้าม

ผู้ติดตาม